สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/custom/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/custom/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/custom/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/custom/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/custom/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ในปี พ.ศ. 2552-53 ที่ผ่านมา การพัฒนาเกษตรอินทรีย์และแฟร์เทรดในประเทศไทยโดยภาพรวมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับสภาพการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ตลาดของทั้งเกษตรอินทรีย์และแฟร์เทรดไทยน่าจะมีโอกาศค่อนข้างดี ส่งผลให้มีผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่หันมาลงทุนขยายการผลิตเพิ่ม ขึ้น ซึ่งทำให้พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศในปี 2552-53 น่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2551 ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงกับประเทศ ไทย รวมทั้งตลาดเกษตรอินทรีย์และแฟร์เทรดในระดับโลกอย่างที่หลายคนคาดการณ์ไว้   จากข้อมูลสรุปสถานการณ์โดยรวมพบว่า มีเพียงประเทศอังกฤษเท่านั้นที่ตลาดเกษตรอินทรีย์หดตัวลง (แต่ก็หดตัวเฉพาะบางกลุ่มสินค้า เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารพร้อมปรุง ในขณะที่กลุ่มสินค้าอย่างอาหารเด็ก อาหารสด เครื่องสำอางกลับขยายตัวเพิ่มขึ้น)  ในขณะที่ตลาดเกษตรอินทรีย์และแฟร์เทรดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาดูเหมือนจะเติบ โตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องจากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศ ที่หันมาให้ความสนใจกับเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเชื่อว่า สามารถเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบการผลิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก  ดังนั้น แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอลง แต่ตลาดเกษตรอินทรีย์ก็ยังเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเทศ  แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบวิกฤติเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ปรากฎว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในอเมริกากลับยังคงขยายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่จริงจังในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาลโอบามา ซึ่งได้มีทั้งการกำหนดนโยบาย การเลือกแต่งตั้งผู้บริหารฝ่ายงานเกษตรอินทรีย์ที่เป็นผู้ที่มีความรู้และ ประสบการณ์จริง และการจัดสรรงบประมาณผ่านไปให้ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาทั้งการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง รวมทั้งการที่ทั้งตัวท่านประธานาธิบดีและภรรยา ที่ให้การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์โดยส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ใช้อาหารเกษตรอินทรีย์ในการจัดเลี้ยงในทำเนียบ ประธานาธิบดี หรือการเปลี่ยนสวนไม้ประดับในทำเนียบประธานาธิบดีให้เป็นสวนผักเกษตร อินทรีย์เพื่อการบริโภคเองของครอบครัวประธานาธบดี  ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เกิดการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐ

ในส่วนของนโยบายเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล ในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด  กรอบนโยบายของรัฐยังคงเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551-2554 โดยอาจมีการขับเคลื่อนในลักษณะของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรเกษตรกร (ซึ่งนับรวมแล้วน่าจะมีการอบรมเกษตรกรไปราว 1.75 ล้านครอบครัว หรือประมาณ 34% ของครอบครัวเกษตรกรในประเทศไทย) รวมทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้จัดซื้อปัจจัยการผลิตเหล่านั้นให้กับเกษตรกร  กิจกรรมเช่นนี้แทบจะไม่ได้มีผลต่อการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรในประเทศไทยเท่า ไหร่นัก

ในด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย แม้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2551 ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงกับประเทศไทย แต่ก็มีผลทางอ้อมทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินตราต่างประเทศค่อน ข้างจะต่ำลง (เงินบาทมีค่าสูงขึ้น) ซึ่งส่งผลทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ได้ตกลงราคาส่งออกล่วงหน้าเป็นเงินสกุลต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากต่าประเทศจะมีราคาลดลง ทำให้มีการขยายการนำเข้าสินค้าออร์แกนิค เพื่อจำหน่ายในร้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะร้านซุเปอร์มาร์เก็ต


การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย
จาก การสำรวจของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงปี 2552 จาก 0.106 และ 0.192ล้านไร่ โดยเฉพาะในส่วนของการปลูกข้าวและพืชไร่เกษตรอินทรีย์  นอกจากนี้ จำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในช่วงเวลาดังกล่าวก็ เพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 5,358 ฟาร์ม


สถานการณ์เกี่ยวกับมาตรฐานและการตรวจสอบรับรอง
สำนักงาน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้เผยแพร่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่ ที่ปรับปรุงจากฉบับปี พ.ศ. 2546 โดยมาตรฐานฉบับใหม่ คือ "มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 9000 เล่ม 1-2552) เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เกษตรอินทรีย์" ซึ่ง คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้มีมติเห็นชอบ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานทั่วไป (ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) รวมทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา
    
นอกจากนี้ ในช่วงต้นปี 2552 ทาง มกอช. ยังได้ริเริ่มที่จะทำมาตรฐานข้าวเกษตรอินทรีย์และปลาสลิดเกษตรอินทรีย์ เพิ่มเติมจากมาตรฐานพืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่แล้ว โดยในร่างมาตรฐานข้าวเกษตรอินทรีย์ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้า สินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งเพิ่มเติมไปจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ผู้ประกอบการเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการออก มาตรฐานดังกล่าวเนื่องจากมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมการผลิตเกษตรอินทรีย์ ทั้งการเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมาตรฐานใหม่ของข้าวเกษตรอินทรีย์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ หลายฝ่ายจึงไม่เห็นความจำเป็นในการจัดทำมาตรฐานเพิ่มขึ้นอีก

 

[จากบทความ "สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย" จากเว็บไซต์กรีนเนท]