Eco News: ตลาดแคนาดา เริ่มให้ความสำคัญกับสินค้าเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Upcycle

  • warning: Creating default object from empty value in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/openwebmini/openoai/ioai/ioai.module on line 591.
  • strict warning: Non-static method flag_flag::factory_by_row() should not be called statically in /home/thaiorga/domains/thaiorganictrade.com/public_html/sites/all/modules/contrib/flag/flag.module on line 1424.
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยตลาดแคนาดา เริ่มให้ความสำคัญกับสินค้าเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Upcycle ที่นำของเสียกลับมาใช้ได้เกือบทั้งหมด แนะผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยเร่งศึกษา และปรับรูปแบบการผลิตให้สอดคล้อง โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มั่นใจช่วยเพิ่มยอดส่งออกเพิ่มขึ้นแน่ นายธนกฤต เหลืองอาสนะทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคชาวแคนาดาได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในกลุ่ม Millennial ที่มีพฤติกรรม ค่านิยม และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ โดยได้มองหาสินค้าภายใต้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “Upcycle” หรือแนวคิดหรือวิธีการที่สามารถนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ทดแทนของเดิมได้เกือบทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจาก Recycle ที่สามารถนำสิ่งที่ใช้แล้วกลับมาใช้ได้บางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างการ Upcycle ในแคนาดา กระป๋องน้ำอัดลม ที่ผลิตจากอลูมิเนียมสามารถนำมาหลอมและผลิตเป็นกระป๋องใหม่ได้ โดยใช้ทรัพยากรเดิมได้เกือบ 90% ซึ่งเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ๆ ลดการถลุงแร่อลูมิเนียม ลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะจากเหมือง ลดโลกร้อน ส่วนกระดาษหนังสือ ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อลดการทำลายป่า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่การ Recycle เป็นการนำภาชนะพลาสติกมาย่อยสลายให้กลายเป็นพลาสติกคุณภาพต่ำและใช้ผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ของเล่น พรม ถาด กระถางต้นไม้ แต่ในที่สุดสินค้าเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะหรือไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีก “ตอนนี้ ผู้บริโภคในแคนาดาได้ให้ความสำคัญของสินค้ามากกว่าตัวสินค้า โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสินค้า ให้ความสำคัญถึงผลกระทบของสินค้าต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบ แรงงาน หรือแม้กระทั่งเมื่อสินค้านั้นถูกบริโภคแล้ว บรรจุภัณฑ์จะถูกนำไปทำยังไง ขั้นตอนการทำลาย การย่อยสลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ ได้เริ่มมีบทบาทและเริ่มมีความสำคัญ ทำให้แนวคิดเรื่อง Upcycle มาแรง และถือเป็นโอกาสในการผลิตและการส่งออกด้วย”นายธนกฤตกล่าว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรจะศึกษาและนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้า โดยต้องคิดค้นและใช้นวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ที่ลดการใช้ การย่อยสลายได้ หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากทำได้ จะเป็นจุดขายที่สำคัญของสินค้าไทย ไม่เพียงแต่ในตลาดแคนาดา แต่ยังสามารถขายสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศฝั่งตะวันตก ที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้