ผลการสำรวจสภานภาพการวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์เบื้องต้นที่ดำเนินการโดยมูลนิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท ร่วมกับสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทยระบุ ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์อยู่ประมาณ 262 ชิ้น (เฉลี่ยปีละ 20 – 30 ชิ้น) ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการของนักวิจัยจากสถาบันวิชาการเป็นหลัก แต่ก็มีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้ทำงานวิจัย-นวัตกรรมค่อนข้างมาก โดยงานวิจัย-นวัตกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร รองลงมาเป็นเรื่องข้าวเกษตรอินทรีย์ และเทคโนโลยีการผลิตผักเกษตรอินทรีย์
แต่โดยภาพรวมแล้ว ในระดับประเทศ ประเทศไทยยังไม่ได้มีการวางแผนกรอบงานวิจัย-นวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ทั้งในลักษณะของแผนระยะยาว ระยะกลาง หรือแผนประจำปี ตลอดจนโครงสร้างการวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทยมีลักษณะการทำงานแบบไม่มี การประสานงาน ต่างหน่วยงานต่างทำงานของตนเอง โดยไม่มีแม้แต่การปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการ อีกทั้งยังไม่มีกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย-นวัตกรรม ที่มีอยู่ของแต่ละหน่วยงาน-สถาบัน ทำให้นักวิจัยและผู้ประใช้ประโยชน์ประสบกับปัญหาในการค้นหาข้อมูลการวิจัย และนวัตกรรม นอกจากนี้ กระบวนการวิจัยไม่ได้มีกลไกที่ชัดเจนในการสร้างให้เกิดการปรึกษาหารือกับผู้ มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย ทำให้งานวิจัยเกือบทั้งหมดไม่ได้มีการใช้ประโยชน์มากนัก
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และได้มีการจัดสัมมนาเพื่อสรุปผลการวิจัยเบื้องต้น เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา สนช. เป็หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่ง สนช. ได้รับมอบหมายให้เป็นเลขานุการของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการองค์ความรู้และ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการพัฒนาเกษตร อินทรีย์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ประสานการดําเนินการ และติดตามประสานงานแผนปฏิบัติการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (ดูรายละเอียดในข่าว "คลอดแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์" 23 พ.ค. 51) โดยในแผนงานการเสริมสร้างและจัดการองค์ควมรู้และนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2551 นี้ ได้รับการจัดงบประมาณกว่า 455 ล้านบาท หรือราว 46% ของงบประมาณทั้งหมด (ดูรายละเอียดในข่าว "ทุ่มงบกว่าพันล้านสำหรับเกษตรอินทรีย์ แต่ก็ยังต่างคนต่างทำ" 8 ส.ค. 51)
งานวิจัยได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยใน 4 ด้านสำคัญ คือ
(ก) พัฒนาเครือข่ายนักวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อเป็นแกนกลางในการพัฒนาระบบงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย โดยไม่ควรที่จะรีบเร่งในการสร้างเครือข่าย แต่ควรเริ่มจากการสนับสนุนให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเบื้องต้น ก่อน ซึ่งจะนำไปสู่การประสานงานและความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
ค่อยๆ พัฒนาขึ้นเป็นเครือข่ายอย่างเป็นทางการในอนาคต
(ข) การประชุมประจำปีเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการวิจัย-นวัตกรรมเกษตร อินทรีย์ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้ประกอบการและผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และการกำหนดกรอบวาระงานวิจัย-นวัตกรรมเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยให้เครือข่ายนักวิจัย-นวัตกรรมทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของ ผู้ประกอบการและผู้ใช้ประโยชน์
(ค) ปรับปรุงโครงสร้างและกระบวนการวิจัย-นวัตกรรม โดยการประสานงานระหว่างหน่วยงานสนับสนุนและผู้ใช้ประโยชน์ โดยการสร้างเวทีระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย-นวัตกรรม ที่เป็นไปตามกรอบความคิดเห็นของผู้ประกอบการและผู้ใช้ประโยชน์ ไม่ใช่ตามความสนใจของหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย-นวัตกรรม หรือของนักวิจัย-นวัตกรรมเป็นหลัก
(ง) ฐานข้อมูลงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตร อินทรีย์ได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยให้นักวิจัย-นวัตกรรมสามารถค้นหางานวิจัยเก่า เพื่อจะได้ไม่ทำงานวิจัยซ้ำซ้อนอีก โดยใช้ฐานข้อมูลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้น
สามารถดูรายละเอียดได้ที่กรีนเนทเว็บไซต์ (ไปดู)